บทความ

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) คืออะไร? มีการรักษาและป้องกันอย่างไร

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) คืออะไร? มีการรักษาและป้องกันอย่างไร

โรคติดเชื้อทางเพศหรือ Sexually Transmitted Diseases (STDs) เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อโรคนั้นๆ บางโรคสามารถรักษาให้หายได้ แต่บางโรคอาจต้องรับการรักษาตลอดชีวิต ดังนั้นการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลยสำหรับทุกคนทุกเพศทุกวัย

เชื้อโรคที่เป็นต้นเหตุของ STDs มักแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1. เชื้อไวรัส ได้แก่ เริม (Herpes Simplex),หูดหงอนไก่ (Papilloma Virus หรือ HPV),เอดส์ (HIV)
2. เชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ หนองในแท้ (Gonorrhea),หนองในเทียม (Chlamydia),ซิฟิลิส (Syphilis)
3. เชื้ออื่นๆ ได้แก่ เชื้อพยาธิ (Trichomanas),เชื้อรา (Candida)

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) มีโรคอะไรบ้าง?

  • หนองใน (Gonorrhea)
  • หนองในเทียม (Chlamydia)
  • เริมที่อวัยวะเพศ (Genital herpes)
  • การติดเชื้อ HIV
  • การติดเชื้อ HPV
  • โลน (Pubic lice)
  • ซิฟิลิส (Syphilis)
  • พยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis)
  • ไวรัสตับอักเสบบี

อาการของโรคที่พบได้ มีดังนี้

  • มีตกขาวผิดปกติ หรือตกขาวเรื้อรังเป็นๆหายๆ
  • ตกขาวมีกลิ่น มีอาการคัน หรือระคายเคือง
  • เกิดตุ่ม มีผื่น หรือแผล ที่บริเวณอวัยวะเพศ
  • ปัสสาวะแสบขัด
  • เชื้อบางชนิด อาจไม่แสดงอาการในระยะแรก หรือบางระยะโรค เช่น หูดหงอนไก่ชนิดที่ก่อมะเร็งปากมกลูก (High risk group HPV),เริม,เอดส์,ซิฟิลิสบางระยะ เป็นต้น

วิธีป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD)

  • การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือมีคู่นอนเดียวที่ไม่มีความเสี่ยงต่อโรค
  • รักษาความสะอาดร่างกาย และบริเวณอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
https://bangkokpattayahospital.com/th/health-articles-th/internal-medicine-th/get-to-know-stds-or-stis/